คอนโดหรูใจกลางเมือง อะพาร์ตเมนต์ให้เช่าราคาถูก ท่านคงเคยเห็นหรือเคยได้ยินข้อความโฆษณาเหล่านี้ สิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า คอนโด (เป็นภาษาปากที่ย่อมาจากคำว่า คอนโดมิเนียม) และอะพาร์ตเมนต์ นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการเติบโตของเมืองซึ่งทำให้ที่ดินหายากและมีราคาแพงขึ้น ดังนั้น การสร้างอาคารที่พักอาศัยจึงจำเป็นต้องมีจำนวนชั้นที่มากขึ้น เพื่อประหยัดที่ดิน ด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อย่างเช่น กรุงเทพมหานคร จึงอาศัยอยู่ในอะพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม หรือ แฟลต เป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งที่ซื้อเป็นของตนเองหรือเช่า แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าสิ่งก่อสร้างที่กล่าวมาทั้ง ๓ อย่างนี้มีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
คำว่า อะพาร์ตเมนต์ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า apartment และคำว่า แฟลต มาจากคำภาษาอังกฤษว่า flat ทั้ง ๒ คำนี้มีความหมายเหมือนกันคือ ห้องชุด และมีลักษณะเหมือนกันคือตามปรกติประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องน้ำ พร้อมอยู่ในชั้นเดียวกันและรวมอยู่ในตึกหลังใหญ่ สำหรับอยู่อาศัยหรือให้เช่า แต่ต่างกันตรงที่ว่า ภาษาอเมริกันใช้ apartment แต่ภาษาอังกฤษใช้ flat ซึ่งทั้ง ๒ คำนี้ราชบัณฑิตยสถาน โดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ได้บัญญัติศัพท์ไว้ว่า ห้องอยู่อาศัย ส่วนคำว่า คอนโดมิเนียม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า condominium คำว่าคอนโดมิเนียมในภาษาอังกฤษ เดิมหมายถึงการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในอาคารขนาดใหญ่ที่แบ่งซอยเป็นส่วนต่าง ๆ ให้คนต่างครอบครัวพักอยู่ ต่อมาหมายถึง อาคารที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน หรืออาคารอื่น ที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง กล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ คอนโดมิเนียมไม่ใช่ตัวอาคาร แต่เป็นการจัดการกรรมสิทธิ์ คือ การจัดการอาคารที่มีอยู่ ราชบัณฑิตยสถาน โดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ได้บัญญัติศัพท์คำ condominium ว่า อาคารชุด
ที่มา: www.royin.go.th/?knowledges=คอนโด-๒๒-เมษายน-๒๕๕๑
ที่พัก ปลวกแดง, ที่พัก บ่อวิน, ห้องพัก ปลวกแดง, ห้องพัก ปลวกแดง
บ้าน มีหลายความหมาย ความหมายแรก หมายถึง หมู่บ้าน ดังที่ปรากฏในชื่อหมู่บ้าน เช่น บ้านขมิ้น บ้านช่างหล่อ บ้านบาตร บ้านหม้อ. ความหมายที่ ๒ บ้าน หมายถึง บริเวณที่คนอยู่ ต่างกับเขตป่าหรือไร่นา เช่น ช้างบ้าน ตรงข้ามกับ ช้างป่า.
ความหมายที่ ๓ บ้าน หมายถึง เรือนซึ่งเป็นที่อยู่ที่หลับนอน เช่น แม่อยู่บนบ้าน ขโมยขึ้นบ้าน เด็กในบ้าน ฯลฯ. ความหมายที่ ๔ หมายถึง เรือนที่สร้างไว้เป็นที่พักชั่วคราว เช่น บ้านรับรอง บ้านพักตากอากาศ. ความหมายที่ ๕ หมายถึง ที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นคฤหาสน์ ห้องชุด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแฝด เรือนแพ หรือเรือก็อาจเรียกว่า บ้าน เช่น บ้านเขาอยู่ลาดพร้าว.
คำว่า บ้าน เมื่อใช้เป็นคำซ้ำเป็น บ้าน ๆ หมายถึง พื้น ๆ ธรรมดา ๆ ไม่มีอะไรพิเศษ เช่น เขาชอบกินอาหารบ้าน ๆ. เธอแต่งตัวบ้าน ๆ แต่ดูดี.
ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
คำว่า หอ เป็นคำเรียกเรือน หรืออาคารที่สร้างขึ้นมีลักษณะต่างจากอาคารทั่วไป อาจเป็นอาคารเปิดโถง อาจสูงกว่าส่วนอื่น หรืออาจมีลักษณะพิเศษอื่น ๆ เช่น หอนาฬิกา หอกลอง หอคอย. หอ ใช้เรียกอาคารที่ใช้ในกิจเฉพาะบางอย่าง เช่น หอดูดาว หอส่องกล้อง. หรือเป็นอาคารที่ทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น หอสวดมนต์ หอฉัน หอประชุม หอพัก หอบังคับการ. หอ ใช้เรียกอาคารที่ใช้เพื่อเก็บรวบรวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อาจต้องการให้มีลักษณะพิเศษต่างจากอาคารอื่น เช่น หอสมุด หอพระไตรปิฎก หอจดหมายเหตุ หอศิลป์. นอกจากนี้ เรือนไทยซึ่งแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ก็เรียกแต่ละส่วนว่า หอ เช่น หอกลาง หอรี หอขวาง หอนอน หอนก
ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
ที่มา: www.royin.go.th/?knowledges=หอ-๑๔-กุมภาพันธ์-๒๕๕๒
ห้องพักรายวัน บ่อวิน,
ห้องพักรายเดือน บ่อวิน,
หอพักรายวัน บ่อวิน,
หอพักรายเดือน บ่อวิน,
ห้องพักรายวัน ปลวกแดง,
ห้องพักรายเดือน ปลวกแดง,
หอพักรายวัน ปลวกแดง,
หอพักรายเดือน ปลวกแดง,
ห้องพักรายวัน อีสเทิร์นซีบอร์ด,
ห้องพักรายเดือน อีสเทิร์นซีบอร์ด,
หอพักรายวัน อีสเทิร์นซีบอร์ด,
หอพักรายเดือน อีสเทิร์นซีบอร์ด,
บ้าน น. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน, หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็นเมือง. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า. บ้านเกิดเมืองนอน น. ประเทศหรือถิ่นซึ่งเป็นที่เกิด. บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน (สำ) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. บ้านจัดสรร น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระก็ได้. บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง. บ้านแตกสาแหรกขาด (สำ) น. สภาพที่ต้องกระจัดกระจายพลัดพรากกันเพราะเกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงขึ้นในครอบครัวหรือในบ้านเมือง. บ้านนอก น. เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป, เขตที่อยู่นอกตัวเมือง, คนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกกรุงหรือเมืองหลวง, บ้านนอกขอกนา หรือ บ้านนอกคอกนา ก็ว่า. ว. ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ, (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น หน้าตาบ้านนอก แต่งตัวบ้านนอก. บ้านนอกขอกนา, บ้านนอกคอกนา น. บ้านนอก. บ้านพัก น. บ้านที่ทางราชการหรือองค์การต่าง ๆ สร้างขึ้นให้เป็นที่อยู่ชั่วคราวของเจ้าหน้าที่. บ้านเมือง น. ประเทศชาติ. บ้านเมืองมีขื่อมีแป (สำ) น. บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง เช่น ถ้าบ้านเมืองมีขื่อมีแป คงไม่ทำกับอ้ายแก่เช่นนี้ได้ (เสภาพญาราชวังสัน), มักใช้ในเชิงปฏิเสธว่า บ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป. บ้านรับรอง น. บ้านที่หน่วยงานสร้างไว้สำหรับให้แขกสำคัญมาพัก. บ้านเรือน น. บ้านที่อยู่อาศัย.
หอ น. เรือนหรืออาคารซึ่งใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หอพระ หอนั่ง หอสมุด; เรือนซึ่งปลูกสำหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่ เรียกว่า เรือนหอ. หอการค้า น. สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน. หอคอย น. อาคารสูงที่สร้างขึ้นสำหรับคอยระวังเหตุและสังเกตการณ์. หอคำ น. เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้นฝ่ายเหนือ. หอจดหมายเหตุ น. สถานที่เก็บและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ. หอฉัน น. อาคารที่สร้างขึ้นในวัด เป็นที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งฉันอาหารและทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น. หอไตร น. หอสำหรับเก็บพระไตรปิฎก. หอบังคับการ น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงานควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจำเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย. หอประชุม น.ห้องประชุมขนาดใหญ่. หอพัก น. ที่พักอาศัยสำหรับนักเรียนนักศึกษาเป็นต้น.
×